เมนู

2. ทุติยทานสูตร


[122] ธรรม 3 ประการนี้ คือ การให้ทานด้วย
ศรัทธา 1 การให้ทานด้วยหิริ 1 การให้ทานอันหา
โทษมิได้ 1 เป็นไปตามสัปบุรุษ บัณฑิตกล่าว
ธรรม 3 ประการนี้ว่า เป็นทางไปสู่ไตรทิพย์ ชน
ทั้งหลายย่อมไปสู่เทวโลกด้วยทางนี้แล.
จบ ทานสูตรที่ 2

อรรถกถาทุติยทานสูตรที่ 2


ทุติยทานสูตรที่ 2

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บุคคลย่อมให้ทานด้วยศรัทธาใด ศรัทธานั้นท่านประสงค์
เอาว่าศรัทธา. บุคคลย่อมให้ทานด้วยหิริใด หิรินั้นท่านประสงค์
เอาว่า หิริ. บทว่า กุสลญฺจ ทานํ ได้แก่ ทานที่หาโทษมิได้. บทว่า
ทิวิยํ ได้แก่ เป็นทางไปสู่สวรรค์.
จบ อรรถกถาทุติยทานสูตรที่ 2

3. ทานวัตถุสูตร


[123] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทานวัตถุ 8 ประการนี้ 8
ประการเป็นไฉน คือ บางคนให้ทานเพราะชอบพอกัน 1 บางคน
ให้ทานเพราะโกรธ 1 บางคนให้ทานเพราะหลง 1 บางคนให้ทาน
เพราะกลัว 1 บางคนให้ทานเพราะนึกว่าบิดา มารดา ปู่ ย่า
ตา ยาย เคยให้มา เคยทำมา เราไม่ควรให้เสียวงค์ตระกูล
ดั้งเดิม 1 บางคนให้ทานเพราะนึกว่า เราให้ทานแล้ว เมื่อตายไป
จักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ 1 บางคนให้ทานเพราะนึกว่า เมื่อเรา
ให้ทานนี้ จิตใจย่อมเลื่อมใส ความเบิกบานใจ ความดีใจ ย่อมเกิด
ตามลำดับ 1 บางคนให้ทานเพื่อประดับปรุงแต่งจิต 1 ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ทานวัตถุ 8 ประการนี้แล.
จบ ทานสูตรที่ 3

อรรถกถาทานวัตถุสูตรที่ 3


ทานวัตถุสูตรที่ 3

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ทานวตฺถูนิ ได้แก่ เหตุแห่งการให้ทาน. บทว่า
ฉนฺทา ทานํ เทติ ความว่า บุคคลไห้ทานเพราะความรัก. บทว่า
โทสา ความว่า เป็นผู้โกรธแล้ว สิ่งใดมีอยู่รีบหยิบเอาสิ่งนั้นให้ไป
เพราะโทสะ. บทว่า โมเหน ความว่า เป็นผู้หลงให้ไปเพราะโมหะ.
บทว่า ภยา ความว่า เพราะกลัวครหา หรือเพราะกลัวอบายภูมิ
ก็หรือว่าเพราะกลัวครหาและอบายภูมินั้นนั่นแหละจึงให้ไป. บทว่า
กุลวํสํ แก่เป็นประเพณีของตระกูล.
จบ อรรถกถาทานวัตถุสูตรที่ 3